

ขอขอบพระคุณ พ.อ. ดร. ประเสริฐ ชูแสง ที่ได้ช่วบเรียบเรียงบทความนี้ โดยในช่วง 2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมา เป็นช่วงที่ COVID-19 กำลังระบาดทั่วโลก ท่านได้เสียสละเวลา ศึกษา ค้นคว้าข้อมูลเรื่อง Hypochlorous Acid เป็นอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลเรื่อง HOCl เป็นความรู้ใหม่ในเมืองไทย และยังไม่เป็นที่รู้จัก เข้าใจกันดีนัก ท่านจึงได้รวบรวมองค์ความรู้ ข้อเท็จจริง จากงานวิจัยทั่วโลก รวมถึงงานวิจัยในเมืองไทย และท่านได้ทำบทสรุปสั้นๆให้หลายๆท่านได้อ่านกันค่ะ
แบบไหนที่มี สามารถฆ่าเชื้อได้ดี?
ผู้รวบรวม – พ.อ. ดร. ประเสริฐ ชูแสง
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หน่วยงานภาครัฐและบุคคลากรทางการแพทย์ได้ออกมารณรงค์ให้ประชาชนใช้แนวทางป้องกันหลัก 3 อย่างคือ การเว้นระยะห่างทางสังคม ไม่อยู่ใกล้ชิดใครเกิน 1.5 – 2 เมตร, การล้างมือบ่อยๆ หรือใช้เจลเช็ดมือ ไม่สัมผัสใบหน้าโดยเฉพาะตา จมูกและปากที่เป็น 3 ทางหลักที่เชื้อจะเข้าสู่ร่างกาย, และการใส่หน้ากากอนามัย
แต่เนื่องจากการติดเชื้อในที่สาธารณะนั้น มีอีกสิ่งหนึ่งที่เรามองไม่เห็นคือ การ ”เดินชน” ละอองฝอย (droplets) ขนาดมากกว่า 5 ไมครอน ที่มีผู้ไอ จาม หรือแม้แต่พูดออกมา ละอองฝอยเหล่านี้ แม้จะอยู่ในอากาศได้ประมาณ 5 นาที แต่ก็นานเพียงพอที่จะให้พวกเราเอาเสื้อผ้า แขนขา เส้นผม ใบหู ตลอดจนส่วนของใบหน้าไป “เดินชน” ละอองฝอยเหล่านี้ และเอามือป้ายเข้าตา จมูกและปากได้ในภายหลัง เชื่อว่าคงไม่มีใครเอาเจลแอลกอฮอล์ไปทาผม, หู, หน้าผากเพื่อฆ่าเชื้อโรคเป็นแน่
ตัวอย่างที่น่าสนใจคือกรณีที่สนามมวย ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อจากกรณีนี้ร่วม 100 คนแล้ว พอดูให้ละเอียดลงไป ผู้ติดเชื้อมีตั้งแต่พิธีกรบนเวทีทั้งคู่ เจ้ากรมฯ นักมวย เซียนมวย และที่น่าสนใจมากก็คือ “คนปล่อยแถวนักมวย” (ซึ่งไม่น่าจะเดินไปไหนมากนัก) สมมุติว่า ในวันนั้นมีผู้แพร่เชื้อ 1-2 คน คนอีกร่วมร้อย คงไม่ได้มาใกล้ชิดทั้ง 2 คนนี้ทุกคนกระมัง? และคงไม่ได้สัมผัสหรือจับพื้นผิวสาธารณะร่วมกับทั้ง 2 คนนี้กระมัง? สถานการณ์นี้น่าจะคล้ายคลึงกับโบสถ์ในนิวยอร์ค ที่เข้าผู้ร่วมทั้ง 60 คน มีเครื่องป้องกันดีพอสมควร เว้นระยะห่าง และไม่มีการสัมผัส แต่ก็ติดเชื้อถึง 45 คนและ ตายไปแล้ว 2 ราย ตอนนี้ คงความเป็นไปได้เหลือแค่ละอองฝอย (droplets) หรือละอองฝอยที่เล็กกว่านั้น (aerosol) – ที่ยังล่องลอยอยู่ (ถ้ามี)
ดังนั้น คงจะเป็นประโยชน์มาก หากเราจะมีน้ำยาฆ่าเชื้อสักอย่างหนึ่ง ที่สามารถพกติดตัว และใช้ฉีดพ่นทำความสะอาดพื้นผิวได้ด้วย ฉีดแขนขา หน้าตา และเอากลับไปฉีดที่บ้านได้ด้วย
สมมุติที่ 25 องศา C, เมื่อ pH น้อยกว่า 3, free chlorine ก็จะเริ่มออกมาจากสารละลายในรูปของแก้ส chlorines แต่เมื่อ pH มากกว่า 7.5, ในสารละลายจะมี hypochlorite (OCl-) กว่าครึ่งและจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อ pH เพิ่มขึ้น หาก pH อยู่ระหว่าง 3-7.5 สารละลาย free chlorine จะมีกรด hypochlorous (HOCl) เป็นตัวเด่น3
*********************************
ผนังเซลล์ของเชื้อโรคส่วนใหญ่ จะเป็นประจุลบ (negatively charged)
– น้ำยาที่มีค่า pH และ FAC เท่าๆ กัน ภายใน 10 วินาที ตัวที่มี ORP สูง กลาง และต่ำ สามารถฆ่าเชื้อได้ 95%, 80% และ 48% ตามลำดับ
– ผนังเซลด้านนอกของเชื้อ ถูกทำลายใน 4 วินาที ผนังด้านในถูกทำลายใน 7 วินาที
– ORP ที่สูงทำให้เกิดการทำลาย oxidation state ของสาร Glutathione disulfide-glutathione couple (GSSG/2GSH ) จากนั้นจึงเจาะผ่านผนังด้านนอกและด้านในของเซลล์ ตามลำดับ10
– เมื่อให้ระดับ pH ต่ำ และ ORP สูง ดังกล่าว น้ำยายังคงประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้เป็นอย่างดี แม้ว่าน้ำยาแต่ละตัวจะมี FAC ที่แตกต่างกันมาก (residual Chlorine 0, 10, 13, 56 และ 60 mg/L)
– เมื่อใช้สารเคมีปรับอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ให้ค่า pH ใกล้เคียงกับของเดิม (2.4-2.7) ค่า residual Chlorine เท่าๆ เดิม (0, 10, 13, 56 และ 60) แต่ลด ORP ให้ต่ำลงเกือบทุกตัว (303, 322, 256, 391, และ 541) มีน้ำยาชุดเดียวที่คงค่า ORP ไว้ที่ 1,122 ผลปรากฏว่า น้ำยาเกือบทุกตัว (เว้นตัวที่ ORP 1,122) สูญเสียประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อไปทั้งสิ้น โดยมีเชื้อโรคคงเหลือเท่าๆ กับการใช้น้ำเปล่า (แม้ว่าจะมี %Chlorine สูงถึง 56 หรือ 60 mg/L ก็ตาม)
– ผู้วิจัยสรุปว่า “ORP should be considered as the primary indication of disinfection (or oxidation) capacity.”
หมายเหตุ ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 63 ผู้รวบรวมได้รับความกรุณาจากผู้แทนจำหน่ายเครื่องผลิตระบบอิเล็กโทรไลซีส ซึ่งสามารถน้ำยาชนิดที่เป็นกรดที่ pH ต่ำกว่า 2.5, มี FAC ไม่เกิน 20 ppm (ตามสเปคของเครื่อง) และ ORP ที่วัดจากน้ำยาที่ผลิตได้คือ 1357 mV ให้ทำการทดสอบการเพิ่มคลอรีนผง ซึ่งผลที่ได้จากการทดสอบคือ ค่า ORP ไม่ได้ลดลง กลับเพิ่มขึ้นเป็น 1406 mV ภายใน 1-2 นาที
ข้อสรุปต่อคำถาม น้ำยา HOCl (ORP สูง) แต่คลอรีนต่ำ สามารถฆ่าเชื้อได้ดีไหม?
– ในการฆ่าเชื้อ ค่าความเป็นกรด-ด่าง-กลางของน้ำยา, ปริมาณคลอรีนก็สำคัญ แต่ ORP น่าจะสำคัญกว่า เพราะน้ำยาต้องทำลายผนังเซลล์ก่อน atom air oxygen และคลอรีนจึงจะทำงานได้
– กล่าวอีกนัยหนึ่ง ถ้าผนังเซลล์ไม่สามารถถูกเจาะด้วยความเป็นประจุบวก (หรืออย่างน้อยก็เป็นกลาง) เพราะน้ำยามีค่า ORP ต่ำ:Oxygen (atom air) และคลอรีนจะทำงานได้อย่างไร? แต่ถ้าค่า ORP สูง, แต่ค่า FAC ต่ำ ผนังเซลล์ถูกเจาะได้ก็จริง จะหา Oxygen และคลอรีนมาจากกไหน?
– ถ้าจะใช้ฉีดพื้นผิว เลือกน้ำยาที่มีคลอรีนเยอะได้ แต่ถ้าจะใช้ฉีดผิวหนัง ควรเลือกน้ำยาที่มีความเป็นกรดมากหน่อยได้ แต่ต้องไม่เกิดอาการต่อร่างกาย
ท้ายที่สุดนี้ เนื่องจาก HOCl ในท้องตลาดขณะนี้ บางอย่างก็เป็นกรดอ่อน (อาจมี FAC สูง, แต่ก็มีค่า ORP ต่ำ) บางอย่างเป็น Strong Acid (และมีค่า ORP สูง แต่ FAC ต่ำ) ถ้าเราเอาน้ำอย่างหลังนี้ มาเติมคลอรีนผงไปเล็กน้อย (หรือเพิ่มเวลาในการออกซิไดซ์) เพื่อเพิ่ม FAC ให้อยู่ประมาณ 40-50 ppm โดยที่ ORP ไม่ลดลง ผู้รวบรวมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้น้ำยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการฆ่าเชื้อต่อโควิด-19 ในสถานการณ์ฉุกเฉินและจำเป็นที่ประเทศไทยประสบอยู่นี้
เอกสารอ้างอิง